ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบรหารส่่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา

โครงสร้างการบริหาร
สินค้า OTOP
อบต.ในเครือข่าย

ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
ส่วนสาธารณสุข
งานการเงิน
ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง
แผนพัฒนาตำบล
งบประมาณ
บริการออนไลน์
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม


  หน้าแรก   ข่าวย้อนหลัง     รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน) 

รายละเอียดข่าวประชาสัมพันธ์ (ภายนอกหน่วยงาน)
ข่าวประชาสัมพันธ์  
  กองการศึกษา ทต.บ้านซ่อง ประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีไทยพวนที่มีการจัดสืบทอดกันมาในเขตเทศบาลตำบลบ้านซ่อง  
     

ประวัติความเป็นมา

          ไทยพวน ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดเชิงเทรา มี 2 หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านหัวกระสังข์  หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 10 (แต่เดิมเป็นหมู่ 5 หมู่เดียว) คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่าชาวไทยพวนบ้านหัวกระสังข์ มีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ ที่ เกาะสมอ(หัวชา)อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีการหักล้างถางป่าจับจองที่ทำกินสืบทอดกันเรื่อยๆมาขยายที่ทำกินแยกครอบครัวขยับขยายกันมาจนถึง บ้านหนองกระสังข์(ปัจจุบันคือบ้านต้นสำโรง) ท่านว่าชื่อบ้านหนองกระสังข์นี้มาจากเป็น อาณาบริเวณที่มีหนองน้ำเสียเป็นส่วนใหญ่ มีความอุคมสมบูรณ์ ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และที่สำคัญบริเวณรอบ ๆ หนองน้ำนี้มีต้นผักกระสังข์ขึ้นอยู่มากมายชาวบ้านจึงเรียกว่าหนองหัวกระสังข์ แต่อาศัยอยู่ได้ไม่นานก็ถูกคนไทยรังแก โดยการลักขโมยสัตว์เลี้ยง ขโมยข้าวของ แย่งจับจองที่ทำกิน พื้นฐานของชาวไทยพวนจะรักสงบไม่สู้รบกับใคร รักที่จะอยู่อย่างสันติ จึงพากันอพยพย้ายถิ่นฐานทิ้งที่ทำกิน ทิ้งบ้านเรือน หนีมาหักล้างถางป่าตั้งบ้านเรือน จับจองที่ทำกินกันในที่ใหม่ ซึ่งก็คือหมู่บ้านหัวกระสังข์ปัจจุบัน โดยการนำของนายซาว ผาวันดี แต่ก่อนบริเวณนี้เป็นป่ารกมาก

เมื่อตั้งบ้านเรือนได้แล้วแต่ละครอบครัวก็ต่างถากถางป่าทำไร่ ทำนา ทำสวนและได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่โดยใช้ชื่อ บ้านหัวกระสังข์ ตามถิ่นเดิมที่เคยอาศัยอยู่ นับแต่วันนั้น ก็ถึงปัจจุบันก็กว่า 100 ปีมาแล้ว

วัดหัวกระสังข์

          ชาวไทยพวนนับถือศาสนาพุทธ มีการร่วมกันสร้างวัดขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ในกลางหมู่บ้านซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์พร้อม ๆ กับเริ่มตั้งหมู่บ้าน ตั้งชื่อว่า "วัดหัวกระสังข์" ตามชื่อหมู่บ้าน ตั้งวัดได้ไม่นานวัดก็ถูกไฟไหม้ จนเหลือแต่โบสถ์เก่า ชาวบ้านจึงย้ายไปสร้างวัดใหม่อีกที่หนึ่งซึ่งเป็นที่ดินของ หลวงพ่อเหลือ (พระครูสังฆการพินิจ)เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สร้างโรงเรียนโดยหลวงพ่อท่านให้สร้างโรงเรียนในบริเวณที่วัด และก็ได้มีการสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญเพื่อให้ชาวบ้านใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาสืบมา

โบราณสถานของชาวไทยพวนหัวกระสังข ศาลเจ้าพ่อ ปู่ตา หลักเมือง

          ผู้ฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ศาลเจ้าพ่อ ปู่ตา และหลักเมือง นี้ มีมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ความเป็นมานั้นท่านว่า เนื่องจาก นางทองมี ได้ถางป่าเพื่อทำไร่ ทำสวน สร้างแหล่งทำกิน จนมาพบต้นยางใหญ่อยู่กลางป่าเกิดความเชื่อ และความศรัทธาจึงอธิฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองถูกหลานให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ทำมาหากินสะดวก ไม่มีเหตุร้ายเข้ามากก้ำกลายในหมู่บ้านได้ และหากเป็นจริงดั่งคำอธิษฐานจะสร้างศาลให้เป็นที่พำนัก

เป็นศาลเจ้าพ่อ ปู่ตา จากนั้นมาชาวบ้านก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีช่องทางทำมาหากิน ใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สงบสุข ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ช่วยกันหักล้างถางป่า ทำนา ทำสวน นางคำมี จึงสร้างศาลโดย

ใช้หญ้าคามุงเป็นหลังคา ใช้ไม้ไผ่ และไม้จริงสร้าง มีบันใด 3 ขั้น สร้าง 2 ศาล ศาลหนึ่งท่านว่าเป็นศาลเจ้าพ่อ ชาวบ้านเรียกเจ้าพ่อเตียงทอง ซึ่งเป็นผู้ปกปักรักษาชาวบ้านคอยช่วยเหลือยามเจ็บไข้ได้ป่วยหรือยามมีเรื่อง

เดือดร้อนก็ให้บนบาลศาลกล่าวหากไม่ประสบเคราะห์หนักนักก็จักได้ดั่งคำบนบานนั้น อีกศาลท่านว่าเป็นศาล ปู่ตา เสมือนปู่บ้าน ปู่เมือง เป็นล่ามคอยชี้แนะตามคำบอกเล่าของเจ้าพ่อ ท่านว่าปู่บ้าน ปู่เมือง จะเป็นผู้ปกป้อง

ภัยอันตรายที่จะมาจากภายนอกหมู่บ้านไม่ให้ภูตผีร้ายเข้ามาในหมู่บ้านได้หลังจากตั้งศาลแล้ว บริเวณรอบ ๆ ศาลยังคงเป็นป่าอยู่ ทำให้ดูน่ากลัว บ้างก็เล่าว่ามีคนเห็นช้าง ม้า อยู่ในป่า เชื่อกันว่าเป็นบริวารของ เข้าพ่อ ปู่ตา ที่เลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวบ้านยังเล่าอีกว่าสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้และเกิดพลัดเข้าไปในบริเวณป่านี้ เจ้าของเข้าไปตามหาเท่าไรก็หาไม่เจอ นางคำมี และ นายไล จึงลองขอต่อศาลว่าขอให้ได้สัตว์เลี้ยงนั้นคืน จักให้ไก่ 1 ตัว เหล้า 1 ขวด หัวหมู 1 หัว หมูชิ้น 1 ชิ้น และขาวบ้านก็รอกันอยู่ที่ศาล ไม่นานนักสัตว์เลี้ยงที่ตามหาก็เดินออกมาจากในบริเวณป่านั้นจริง ๆ  นายไล เห็นแล้วก็เกิดความศรัทธายิ่งนักนายไลจึงหาสังกะสีมามุงหลังคาแทนหญ้ากาที่มุงอยู่ชาวบ้านที่รู้เรื่องต่างพากันมากราบไหว้ บนบาลศาลเกล่าเรื่องต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องให้อยู่เย็นเป็นสุข อย่าให้มีเหตุร้ายใด ๆ เกิด กับครอบครัว เดินทางไปไหนก็ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ทำงานการสิ่งใดก็ให้ได้เงินสะดวก เจ็บไข้ได้ป่วยก็ให้หายโดยเร็ว เป็นต้น ท่านเล่าว่า นายจันทร์ ได้ไปทำงานนอกหมู่บ้าน ก่อนไปก็ได้ขอให้การเดินทางสะดวก ทำงานเสร็จก็ให้ได้เงินง่าย ๆ ไม่มีอะไรติดขัด เมื่อนายจันทร์ ได้เงินจากการทำงาน ก็เลยซื้อสังกะสี สีเขียวมาเปลี่ยนสังกะสีที่ นายไล ทำไว้ เปลี่ยนไม้ไผ่เป็นไม้จริงทั้งหมดและต่อมาชาวบ้านก็มาปรับปรุงเปลี่ยนสังกะสี เป็นกระเบื้อง กั้นฝารอบ 4 ด้าน สร้างเป็นเรือนหลังใหม่ และปัจจุบันได้เปลี่ยนจากฝาไม้จริง เป็นปูนรอบ 3 ด้าน ค้านหน้าเป็นกระจกเลื่อนปิดเปิดได้ ข้างศาลจะมีต้นยางใหญ่เป็นร่มงาแก่ศาล ต่อมาต้นยางถูกปลวกกินจนต้นตาย ชาวบ้านกลัวดันยางจะล้มทับศาล จึงจุดธูปขอตัดต้นยาง จากนั้นไม่นาน เจ้าพ่อก็ได้มาเข้าทรง บอกให้ปู่ตา บอกชาวบ้านว่าไม่ให้นั่ง ต้นยางที่ตัดนั้น เพราะต้นยางมีนางไม้อยู่ ให้ทำที่กั้นรอบ ๆ และตั้งศาลให้นางไม้อยู่ ด้วย และให้บูชาด้วย  ข้าวปากหม้อ ขนมหวาน น้ำหวาน เป็นพื้นฐาน

          ในปัจจุบันได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ไทยพวน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยพวนบ้านหัวกระสังข์สืบไป

พิธีกรรม/วัฒนธรรม ประเพณีของไทยพวน บ้านหัวกระสังข์ พิธีกรรมล้อมบ้าน (ฮีบ้าน)

          พิธีกรรมล้อมบ้านของไทยพวนหัวกระสังข์ นี้ เกิดจากความเชื่อความศรัทธา ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ สาเหตุมาจาก ในหมู่บ้านเกิดมีคน ป่วย และ ล้มตายติดต่อกันหลายคน บางคนป่วยเช้า สายก็ตาย บางคนป่วยสาย บ่ายก็ตาย บางคนป่วยเย็น กลางคืนก็ตาย ติดต่อกันแบบนี้ จนชาวบ้านเกิดหวาดกลัว ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจึงพาชาวบ้านไปไหว้ศาลขอให้คุ้มครอง เข้าพ่อได้มาเข้าทรง บอกปู่ตาท่านว่า ดวงบ้านดวงเมืองกำลังมีเคราะห์  เนื่องจากตั้งหมู่บ้านไม่มีหลักบ้านหลักเมือง ให้ชาวบ้านตั้งหลักบ้านหลักเมือง เป็นการต่อชะตาบ้านเมือง ชาวบ้านจึงตั้งหลักบ้านหลักเมืองไว้บริเวณใกล้ ๆ ศาล เรียกกันว่า " หลักศีล" และให้ทำบุญเสียเคราะห์หมู่บ้านโดยให้ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนทำกระทงหน้าวัว ขึ้น คน โค กระบือ ม้า สุนัข ไก่ ข้าวดำ ข้าวแดง ใส่มาในกระทงหน้าวัว ช่วยกันหาหญ้าคามาถักต่อกันให้ยาวเพื่อล้อมรอบหมู่บ้าน ให้นำหญ้าคาและกระทงหน้าวัวนี้มารวมกัน ณ บริเวณ ศาล ทำบายศรีปากชามสู่ขวัญหลักบ้านหลักเมือง ทำบายศรีพุ่มสู่ขวัญชาวบ้าน เมื่อทุกคนพร้อมกันแล้วก็ให้ คนทรง อัญเชิญจ้าพ่อประทับทรง เจ้าพ่อจะทำพิธี ทำน้ำมนต์รดกระทง รดหญ้าคา และให้นำหญ้าคาที่ทำพิธีแล้วไปล้อมรอบหมู่บ้านนำกระทงไปส่งตามแยกต่าง ๆ ของหมู่บ้าน เป็นการส่งผี ส่งเคราะห์ร้ายออกไปจากหมู่บ้าน และหญ้าคาก็เปรียบเสมือนสายสิญจน์ ป้องกันไม่ให้ผีหรือเคราะห์ร้ายใด ๆ เข้ามาในหมู่บ้านได้อีก หลังจากนั้นจะต้องสู่ขวัญหลักบ้านหลักเมือง ให้ปกปักรักษาบ้านเมืองให้สงบสุข และสู่ขวัญชาวบ้านให้ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัวไม่ให้ไปอยู่ที่อื่น เมื่อเสร็จพิธีทั้งหมดเจ้าพ่อออกจากทรง ให้นิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น ณ บริเวณ ศาลกลางคืนก็ให้ชาวบ้านมารวมกัน จัดการแสดงพื้นบ้าน ให้มีการละเล่นให้ ครื้นเครง พอเช้าวันรุ่งขึ้น ก็ให้ทำบุญตักบาตร นิมนต์พระมาฉันเช้า เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี และให้ชาวบ้านปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำทุกปี โดยให้ปฏิบัติในวันอังคาร ภายใน เดือน 6 ของทุกปี

          หลังจากประกอบพิธีกรรมตามคำบอกเล่าของปู่ตาแล้วชาวบ้านก็ล้มตายน้อยลง การเจ็บป่วยแบบกะทันหันก็ไม่เกิดขึ้น ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากมีฝีป่าเข้ามาในบ้าน ชาวบ้านเรียกกันว่า "ผีห่า" พิธีกรรมดังกล่าวจึง ปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

การละเล่นพื้นบ้านของไทยพวนบ้านหัวกระสังข์

          ไทยพวนบ้านหัวกระสังข์ มีการละเล่นหลายประเภท สมัยก่อนจะรวมกันเล่น ณ บริเวณ ลานบ้าน เช่น การละเล่น ตี่จับ หลุมเมือง หมากเก็บเสือกินวัว ขี่ม้าส่งเมือง ขี่ม้าสามศอก กาคาบไข่ หมากฮึ่ม หมากงิ้วการละเล่นต่าง ๆ เหล่านี้เด็ก ๆ สมัยก่อนจะมาเล่นร่วมกัน แต่ในปัจจุบันก็จะหลงเหลืออยู่บางอย่าง เด็ก ๆ จะรวมกันเล่น ณ บริเวณ ลานศาลปู่ตาการรำพวนการรำพวนของไทยพวนหัวกระสังข์ จะกระทำในเทศการ

บุญพเวศ (เทศมหาชาติ) แต่งงาน ยกเสาเรือนตรงกัน การแต่งงาน และยกเสาเรือนตรงกันนั้น ชาวบ้าน  เรียก  กันว่า การรำพวนไขว่พาข้าว หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้าวปลาอาหารระหว่างกันของบ้านเจ้าบ่าว  และเจ้าสาวบ้านที่ยกเสาเรือนในวันเดียวกันการรำพวนนี้จะเป็นการร้องเป็นกลอนเกี้ยวพาราศีระหว่างกัน กลอนกล่าวต่อว่าต่อขานง้องอนกัน กลอนอวยพรแก่กัน เป็นต้น

1. ประวัติความเป็นมาของชาวไทยพวน ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม

2.ไทยพวน ภาษาและวัฒนธรรม

3.การประกวดพูดภาษาไทยพวน



ประกาศโดย :
วันที่ประกาศ : 2564-09-20

การให้บริการ
กฎหมายน่ารู้
ปฏิทินกิจกรรม
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 301 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 30 เมษายน 2567
เว็บไซต์บริการ
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
แบบสอบถาม
ข้อมูล ITA
ระบบฐานข้อมูล Back office
ร้องเรียนการทุจริต
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม
166 หมู่ที่ 15 ตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา 30230
Tel : 044-009894-5   Fax : 044-009895
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.